Flowchart

สัญลักษณ์ Flowchart ความหมายและวิธีใช้เขียนผังงาน

สัญลักษณ์ Flowchart ความหมายและวิธีใช้เขียนผังงาน
สัญลักษณ์ Flowchart คือ รูปภาพที่ใช้แทนความหมายการทำงานในลักษณะต่างๆ ภายในผังงาน (Flowchart)
Dec 01, 2017


สัญลักษณ์ Flowchart คือ รูปภาพที่ใช้แทนความหมายการทำงานในลักษณะต่างๆ ภายในผังงาน (Flowchart) ประกอบไปด้วย การเริ่มต้น (Start), การจบ (End), การกระทำ (Process), การนำเข้าข้อมูล (Input), การแสดงผลข้อมูล (Output), การตัดสินใจ (Decision), คำอธิบาย (Annotation), จุดเชื่อมต่อ (Connector), ทิศทางการทำงาน (Direction Flow) 
สัญลักษณ์เหล่านี้เมื่อถูกนำมาเชื่อมต่อกัน จะกลายเป็น "ผังงาน (Flowchart)" ที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อ
  • เป็นเครื่องมือในการจัดลำดับความคิด
  • เห็นลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน
มาดูกันว่าสัญลักษณ์ต่างๆ มีความหมายว่าอย่างไรกันบ้างครับ

สัญลักษณ์ Flowchart (ผังงาน)

รูปภาพสัญลักษณ์ความหมายของสัญลักษณ์

Start / End
การเริ่มต้นหรือจบ Flowchart (Start หรือ End)

Process
การกระทำ (Process) ถูกใช้เพื่อแสดงที่การกระทำใน Flowchart
ตัวอย่างเช่น "กำหนด 1 ให้ X", "บันทึกการเปลี่ยนแปลง", "แทนที่ X ด้วยค่า 10"

Input / Output

ส่วนการนำเข้าข้อมูลหรือแสดงผลข้อมูล (Input / Output) 
ตัวอย่างเช่น "นำเข้าค่า X จากผู้ใช้", "แสดงผลข้อมูล X"
Decision
การตัดสินใจ (Decision)
นำมาใช้เพื่อพิจารณา True หรือ False เส้นการทำงานที่ออกจาก Decision จะมีสองเส้นเสมอ
เส้นแรกเมื่อเป็น True และอีกเส้นเมื่อเป็น False
Annotation
คำอธิบายประกอบ (Annotation) 
สัญลักษณ์นี้ถูกนำมาใช้เพื่อเขียนคอมเม้นต์ให้กับ Flowchart

Connector

จุดเชื่อมต่อ (Connector) 
ใช้รวมเส้นการทำงานของ Flowchart ให้ออกไปเหลือเพียงเส้นเดียว

Direction Flow
ทิศทางการทำงาน (Direction Flow)
ใช้เชื่อมต่อสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแสดงการไหลการงาน

วิธีใช้เขียนผังงาน

หลักการนำสัญลักษณ์ Flowchart ต่างๆ มาเขียนผังงาน
  1. ผังงาน (Flowchart) ต้องมีจุดเริ่มต้น (Start) และจุดสิ้นสุด (End)
  2. สัญลักษณ์แต่ละรูปจะถูกเชื่อมต่อด้วยทิศทางการทำงาน (Direction Flow) เพื่อบอกว่าเมื่อทำงานนี้เสร็จต้องไปทำงานไหนต่อไป
  3. การทำงานจะต้องเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้น (Start) และจบที่จุดสิ้นสุด (End) เท่านั้น

ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ Flowchart ในการเขียนผังงานระบบ

 

ตัวอย่าง ผังงานการลาป่วย 


อธิบายผังงานลาป่วย
  1. เริ่มต้น - Start
  2. ไปทำงาน - Process
  3. ฉันป่วยหรือไม่ ? - Decision ถ้าไม่ป่วยก็จบเลย - False
  4. ใช่ ฉันป่วย - True
  5. กรอกใบลาป่วย - Process
  6. ส่งอีเมล์ให้หัวหน้า - Process
  7. นอนพักผ่อน - Process
  8. จบ - End

ตัวอย่างการเขียนแผนผังงานเดินทางไปทำงาน





เป็นไงบ้างครับ พื้นฐานการใช้สัญลักษณ์  Flowchart แบบง่ายๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนผังงานอื่นๆ ได้ครับ ในบทความอื่นๆ เดี๋ยวเราจะมาลงลึกไปในรายละเอียดของผังงานแบบต่างๆ กัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

7 Segment Display Interfacing with PIC Microcontroller

arduino Project (อ้างอิง : https://www.prometec.net/control-acceso-clave/)

Digital Thermometer using LM35 and PIC Microcontroller